ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาววรัญญา ศรีดาวฤกษ์ค่ะ

วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2558 เวลา 13.30-17.30 น.


              กิจกรรมการเรียนการสอน                    


อันดับแรกเมื่อเข้าเรียนทุกครั้งคือการปั๊มใบมาเรียน วันนี้เป็นวันที่มีฝนตก  

อาจารย์จึงมีกิจกรรมให้นักศึกษาทำก่อนเรียน คือการฝึกสมาธิโดยการเล่นเกมส์ 

นับเลขจาก 1 ไปเรื่อยๆ แต่ถ้าใครได้นับเลขที่มี 3 และ 7 ให้ทำการปรบมือแทน 

บางคนก็มีสมาธิดี บางคนก็ไม่มีสมาธิเลยจึงโดนทำโทษโดยการเต้นหน้าชั้นเรียน 





 





        ต่อมาเมื่อนักศึกษามีสมาธิแล้วก็เข้าสู่บทเรียนวิชาการ ซึ่งวันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับเรื่อง  "แนวทางการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย"



แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษา 
       เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
     •  นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแตกต่างกัน

Richard and Rodger ได้แบ่งมุมมองต่อภาษาในการจัดประสบการณ์เป็น 3 กลุ่ม

               1มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา
  - นำองค์ประกอบย่อยของภาษามาใช้ในการสื่อความหมาย
  - เสียง ไวยากรณ์ การประกอบคำเป็นวลี หรือประโยค
2. มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา
  - เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อความหมาย
  - การจัดประสบการณ์เน้นการสื่อความหมาย
  - ไม่ได้ละทิ้งแบบแผนหรือไวยากรณ์
  - เด็กมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการใช้ภาษา
3. มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์
  - เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม
  - การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางภาษา

ต่อมาคือเรื่องภาษาธรรมชาติ (Whole Language)
การสอนภาษาธรรมชาติ
    • สอนแบบบูรณาการ / องค์รวม
    • สอนในสิ่งที่เด็กสนใจและมีความหมายสำหรับเด็ก
    • สอนสิ่งใกล้ตัวเด็กและอยู่ในชีวิตประจำวัน
    • สอดแทรกการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ไปพร้อมกับการทำกิจกรรม
    • ไม่เข้มงวดกับการท่อง สะกด
    • ไม่บังคับให้เด็กเขียน

หลักการของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
       1. การจัดสภาพแวดล้อม
2. การสื่อสารที่มีความหมาย
3. การเป็นแบบอย่าง
4. การตั้งความคาดหวัง
5. การคาดคะเน
6. การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
7. การยอมรับนับถือ
8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น


อาจารย์ได้เปิดวีดีโอเกี่ยวกับเรื่องภาษาธรรมชาติให้ชม สรุปได้ว่า..

       การสอนเรื่องภาษากับเด็กควรมีทั้งข้อความและภาพด้วย เด็กแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกัน ไม่ควรไปคาดหวังว่าเด็กจะเป็นแบบนั้น แบบนี้ และการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ควรมีของจริงให้ดู 


บทบาทของครู 
การใช้คำพูดกับเด็กไม่ควรจะมีคำว่า "ไม่,อย่า,ห้าม" เพราะเด็กจะไม่กล้าทำในสิ่ง
นั้นและคิดว่าสิ่งที่กำลังจะทำนั้นคือสิ่งที่ผิด ควรใช้คำพูดที่เหมาะสม เช่น 
อย่าวิ่ง     ->   ค่อยๆเดิน

อย่าแกล้งเพื่อน  ->   เล่นกับเพื่อนดีๆ


ต่อมาอาจารย์ได้ให้พวกเราดูภาพและอ่านข้อความจากภาพ




เมื่อจบการเรียนการสอนทางวิชาการ อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนออกไป

ร้องเพลงหน้าชั้นเรียนคนละ 1 เพลง 


สำหรับฉัน ฉันได้ร้องเพลง นกเขาขัน :)


จากนั้นอาจารย์ก็ได้เช็คชื่อและปล่อยนักศึกษากลับ




                        ความรู้ได้รับ                        

ได้รับความรู้เรื่องภาษาธรรมชาติ ว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างภาษากับความคิด แนวทางการสอนมีพื้นฐานมาจากการเรียนรู้และธรรมชาติของเด็ก ได้รับความรู้เกี่ยวกับการใช้สัญลักษณ์ภาพแทนตัวหนังสือ


          การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้            
สามารถนำความรู้เรื่องภาษาธรรมชาติไปประยุกต์ใช้ในการสอน เช่น การใช้ภาพแทนตัวหนังสือ แล้วยังสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียนในด้านการใช้ภาษาที่ถูกต้องอีกด้วย 

                         การประเมิน                        

    ประเมินตนเอง 

      ตั้งใจเรียนดี และบันทึกระหว่างการเรียนการสอน ให้ความร่วมมือให้การทำกิจกรรมทุกกิจกรรม


ประเมินเพื่อนร่วมชั้น
      
       เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์ผู้สอนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมทุกกิจกรรม 


ประเมินอาจารย์ผู้สอน

       อาจารย์มีความตั้งใจในการสอนและหากิจกรรมมาให้นักศึกษาได้ทำร่วมกัน อาจารย์มีความเป็นกันเองทำให้การเรียนการสอนไม่เครียด




วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3 

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน 2558 เวลา 13.30-17.30 น.

   



กิจกรรมการเรียนการสอน

อันดับแรกทุกครั้งในการเรียนการสอนคือ การปั๊มใบเข้าเรียน ในวันนี้เป็นรูปนาฬิกา

และวันนี้ดิฉันได้รับรางวัลดาวเด็กดี 2 ดวง เนื่องจากได้เป็นตัวแทนเข้ากิจกรรมอบรม

ประกันคุณภาพในวันอาทิตย์ ที 6 กันยายน 2558 ที่ผ่านมา


กิจกรรมต่อมา คือการทบทวนเพลง ที่ร้องไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว 5 เพลง ต่อด้วยการฝึกร้อง

เพลงใหม่ เพลง คือ เพลงดวงอาทิตย์ รำวงดอกมะลิ ดอกมะลิ ดวงจันทร์ และเพลงดอก

กุหลาบ






    ต่อมาอาจารย์ได้ให้แผ่น CD เพลงและ ที่เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย ให้พวกเราได้นำไปฝึกร้อง

 และทบทวน เพื่อนำมาสอบในรายวิชานี้ และเพื่อเป็นเครื่องมือในการสอนในภายภาคหน้า


กิจกรรมต่อมา เข้าสู่บทเรียนอาจารย์สอนเกี่ยวกับหัวข้อ

“แนวคิดนักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัย”


ต่อมาอาจารย์ได้มีกิจกรรมให้นักศึกษาได้เล่น คือ กิจกรรมลิ้นพันกัน อาจารย์ได้ให้

นักศึกษาออกไปเป็นตัวแทนในการเล่น คือ อาจารย์จะมีประโยคที่พูดยากๆมาให้พวกเรา

ได้พูดกัน กิจกรรมนี้สนุกและทั้งห้องก็เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ รู้สึกผ่อนคลายมาก (><)



ระหว่างการเรียนการสอนอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาพักเบรค 



กิจกรรมสุดท้าย คือการแต่งนิทาน ในหัวข้อ “ผลไม้หลากสี” ที่พวกเราช่วยกันคิด

แบ่งกลุ่มกัน และแบ่งหน้าที่ของแต่ละคน คือการวาดภาพ ระบายสี สำหรับกลุ่มของดิฉันได้

วาดภาพตอน "ฉันชอบกินผลไม้" 







ฉันได้รับหน้าที่เป็นคนเขียน และระบายสี



และนี่คือผลงานของกลุ่มเรา





ความรู้ที่ได้รับ
่่
1. เรื่องแนวคิดนักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัย ทำให้รู้จัก

นักทฤษฎี แนวคิด ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มพฤติกรรมนิยม กลุ่มพัฒนาการทาง

สติปัญญา กลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย และ กลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแต่

เกิด และจิตวิทยาการเรียนรู้ ทำให้เข้าใจทฤษฎีและเข้าใจธรรมชาติของเด็กมากขึ้น

2. ได้เพลงที่ใช้ในการสอนเด็กปฐมวัย และท่าทางประกอบเพิ่ม

3. ได้ฝึกการพูดคำยากๆ พูดเร็วๆ ทำให้พูดได้คล่องขึ้น

4. ได้ฝึกการเขียนตัวกลมหัวเหลี่ยมในการเขียนนิทาน 

5. ได้รู้ว่าจินตนาการของเด็กนั้นไม่มีผิด และเด็กแต่ละคนมีประสบการณ์เดิมที่ไม่เหมือนกัน




การนำความรู้ไปใช้

1. สามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาทฤษฎี ไปประยุกต์ใช้ในการสอนเด็กปฐมวัย ไม่ว่าจะ

เป็นเรื่องธรรมชาติของเด็กและความแตกต่างของแต่ละบุคคล 

2. สามารถนำกิจกกรมการร่วมกันแต่งนิทานไปใช้ในการสอนได้ คือ การร่วมกันคิดนิทาน

ของหนู เป็นการฝึกให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น และการทำงานร่วมกับผู้อื่น

3. นำเพลงที่ได้ไปสอนเด็กร้องและทำท่าทางประกอบ





การประเมินผล

ประเมินตนเอง 

วันนี้ดิฉันตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน และให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่างๆอย่างเต็มที่

ประเมินเพื่อนร่วมชั้น

เพื่อนๆให้ความร่วมมือ ในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ในทุกๆกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำ และ

ตั้งใจเรียนกันทุกคน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์มีความตั้งใจในการสอน และมีความเป็นกันเองกับนักศึกษาทำให้บรรยากาศใน

ห้องเรียนมีความน่าเรียนและทำกิจกรรมต่างๆ





























วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2
 วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน 2558 เวลา 13.30-17.30 น.



การเรียนการสอนในวันนี้คือ



อาจารย์ให้นักศึกษาเพิ่มลิ้งค์ของนักศึกษาทุกคนลงในบล็อคของอาจารย์ทีละคนส่วนเพื่อนที่รอเพื่อนลิ้งค์อาจารย์ให้ทำป้ายชื่อรอ









เมื่อเพื่อนเพิ่มลิ้งค์กันครบแล้ว อาจารย์ก็ได้ตรวจสอบบล็อคขอนักศึกษาแล้วให้ดาวเด็กดีคนละ2ดวง






อาจารย์ให้นักศึกษาทบทวนเพลงของสัปดาห์ที่แล้วทั้ง5เพลง แล้วได้แจกชีทเพลงใหม่อีก 5 เพลง และสอนร้องพร้อมท่าประกอบ






อาจารย์ให้วาดสิ่งที่ตนเองรักและชอบสมัยยังเป็นเด็กและให้เพื่อนตัวแทน3คนออกไปพูดเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองวาดว่ามันคืออะไร ทำไมถึงชอบ รักสิ่งนี้





บรรยากาศในห้องเรียน









ความรู้ที่ได้รับ 
    
1. ได้รู้จักเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย

2. ได้ท่าทางประกอบเพลง


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

1. ใช้ภาษาถูกต้อง
        
2. รู้และเข้าใจเรื่องภาาาที่มีความซับซ้อนจึงสามารถนำไปใช้ได้อย่างไม่ผิดเพี้ยน

3. นำไปสอนเด็กได้ เช่นเรื่องของภาาาวิบัติ

4. ได้เพลงไปสอนเด็กร้อง  

การประเมินผล 

       ประเมินตนเอง    >   ตั้งใจ และได้รับความรู้อย่างครบถ้วน
       ประเมินเพื่อน     >  เพื่อนส่วนมากตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน มีส่วนน้อยที่ยังไม่ค่อยสนใจ
       ประเมินอาจารย์    >    อาจารย์สอนเข้าใจง่าย ตั้งใจสอน และเป็นกันเองมาก